ITA-ปี-2564- รพ.พระทองคำเฉลิมพระเกียรติ ๘๐ พรรษา

การประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ

(Integrity and Transparency Assessment : ITA)

ที่อยู่ 99 หมู่ที่ 5 ต.พังเทียม อ.พระทองคำ จ.นครราชสีมา 30220

ตัวชี้วัดที่ 1 การเปิดเผยข้อมูล

 EB 1 หน่วยงานมีการกำหนดมาตรการ และวางระบบการเผยแพร่ข้อมูลต่อสาธารณะผ่านเว็บไซต์ของหน่วยงาน
          >>1.บันทึกข้อความลงนามคำสั่ง และปรากฏการขออนุญาตนำเผยแพร่บนเว็บไซต์ของหน่วยงาน
          >>2.คำสั่ง มาตรการ กลไก หรือระบบในการดำเนินการกำหนดให้มีการเผยแพร่ข้อมูลผ่านเว็บไซต์ ของหน่วยงาน โดยผู้บริหารสูงสุดของหน่วยงาน
          >>3.กรอบแนวทางการเผยแพร่ข้อมูลต่อสาธารณะผ่านเว็บไซต์ของหน่วยงาน (รายละเอียดเนื้อหา ในข้อ 2. ข้อ 2.1 ถึงข้อ 2.3)
          >>4.รายงานผลการติดตามการดำเนินงาน และสรุปปัญหาอุปสรรคการดำเนินงานเผยแพร่ข้อมูล ต่อสาธารณะผ่านเว็บไซต์ของหน่วยงาน โดยผู้บริหารสูงสุดของหน่วยงาน ต้องเป็นรายงานของปีงบประมาณ พ.ศ. 2563

      EB 2 หน่วยงานมีการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารที่เป็นปัจจุบัน
          >>1.ข้อมูลพื้นฐานที่เป็นปัจจุบัน
               1.1 ข้อมูลผู้บริหาร
               1.2 นโยบายของผู้บริหาร
1.3 โครงสร้างหน่วยงาน
               1.4 หน้าที่และอำนาจของหน่วยงานตามกฎหมายจัดตั้งหรือกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
               1.5 กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงาน หรือการปฏิบัติงานของหน่วยงาน
               1.6 ข่าวประชาสัมพันธ์ที่แสดงข้อมูลข่าวสารที่เกี่ยวกับการดำเนินงานตามหน้าที่และอำนาจ และภารกิจของหน่วยงาน และเป็นข้อมูลข่าวสารที่เกิดขึ้นในปีงบประมาณ พ.ศ. 2564
               1.7 ข้อมูลการติดต่อ ประกอบด้วย ที่อยู่หน่วยงาน หมายเลขโทรศัพท์หมายเลขโทรสาร ที่อยู่ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์แผนที่ตั้งหน่วยงาน
               1.8 ช่องทางการรับฟังความคิดเห็น ที่บุคคลภายนอกสามารถแสดงความคิดเห็น ต่อการดำเนินงานตามหน้าที่และอำนาจตามภารกิจของหน่วยงาน
               1.9 วิสัยทัศน์พันธกิจ ค่านิยม MOPH
               1.10 ยุทธศาสตร์ของประเทศ โดยรวม
               1.11 พระราชบัญญัติมาตรฐานทางจริยธรรม พ.ศ. 2562
               1.12 ประมวลจริยธรรมข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2552
               1.13 ข้อบังคับสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขว่าด้วยจรรยาข้าราชการสำนักงาน ปลัดกระทรวงสาธารณสุข พ.ศ. 2560
               1.14 อินโฟกราฟฟิกคณะกรรมการจริยธรรม ประจำสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ชุดปัจจุบัน
               1.15 จรรยาบรรณกระทรวงสาธารณสุข (MOPH Code of Conduct)
          >>2.นโยบายและยุทธศาสตร์ของหน่วยงาน
          >>3. แผนปฏิบัติการประจำปีของหน่วยงาน และการติดตามประเมินผลการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการประจำปีของหน่วยงาน(แผนปฏิบัติการประจำปีของหน่วยงาน ทุกแผน)
          >>4. แผนการใช้จ่ายงบประมาณประจำปีของหน่วยงาน และการติดตามประเมินผลการดำเนินงานตามแผนการใช้จ่ายงบประมาณประจำปีของหน่วยงาน
          >>5. หลักเกณฑ์/ขั้นตอนการแก้ไขปัญหาในกรณี ที่มีการร้องเรียนเรื่องการปฏิบัติงานหรือการให้บริการของเจ้าหน้าที่
          >>6. หลักเกณฑ์/ขั้นตอนการแก้ไขปัญหาในกรณีที่มีการร้องเรียนเรื่องการทุจริตและประพฤติมิชอบ
          >>7. รายงานผลการดำเนินการเกี่ยวกับเรื่องร้องเรียน การปฏิบัติงานหรือการให้บริการและการร้องเรียนเรื่องการทุจริตและประพฤติมิชอบ
          >>8. รายงานผลการดำเนินการเกี่ยวกับเรื่องร้องเรียนการทุจริตและประพฤติมิชอบ
          >>9. ข้อมูลการจัดซื้อจัดจ้าง
               9.1 การวิเคราะห์ผลการจัดซื้อจัดจ้างและการจัดหาพัสดุประจำปีที่ผ่านมา (ปีงบประมาณ พ.ศ. 2563)
               9.2 แผนการจัดซื้อจัดจ้างและการจัดหาพัสดุประจำปี
               9.3 ผลการดำเนินการตามแผนการจัดซื้อจัดจ้างและการจัดหาพัสดุประจำปีประจำปี ตามรอบระยะเวลาที่กำหนดในกรอบแนวทาง
               9.4 ประกาศสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขว่าด้วยแนวทางปฏิบัติงานเพื่อตรวจสอบ บุคลากรในหน่วยงานด้านการจัดซื้อจัดจ้าง พ.ศ. 2560 และแบบแสดงความบริสุทธิ์ใจในการจัดซื้อจัดจ้าง ของหน่วยงานในการเปิดเผยข้อมูลความขัดแย้งทางผลประโยชน์ของหัวหน้าเจ้าหน้าที่
               9.5 แบบสรุปผลการจัดหาพัสดุในแต่ละรอบเดือน ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 (แบบ สขร. 1)
          >>10. คู่มือการปฏิบัติงานตามภารกิจหลักและภารกิจสนับสนุนของหน่วยงาน
          >>11. คู่มือขั้นตอนการให้บริการ (ภารกิจให้บริการประชาชนตามพระราชบัญญัติการอํานวยความสะดวกในการพิจารณาอนุญาตของทางราชการ พ.ศ. 2558) (ถ้ามี)

ตัวชี้วัดที่ 2 การจัดซื้อจัดจ้าง และการจัดหาพัสดุ
      EB 3 หน่วยงานมีรายงานการวิเคราะห์ผลการจัดซื้อจัดจ้างและการจัดหาพัสดุประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563
          >>1. บันทึกข้อความเสนอรายงานผู้บริหารรับทราบ และสั่งการให้นำรายงานการวิเคราะห์ผลการจัดซื้อจัดจ้างและการจัดหาพัสดุ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 ไปเผยแพร่ผ่านเว็บไซต์ของหน่วยงาน
          >>2. รายงานการวิเคราะห์ผลการจัดซื้อจัดจ้างและการจัดหาพัสดุ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 มีลักษณะเป็นรูปเล่มรายงาน โดยต้องนำเสนอข้อมูลการวิเคราะห์อย่างเป็นระบบ

      EB 4 หน่วยงานมีมาตรการ และวางระบบเพื่อส่งเสริมความโปร่งใสในการจัดซื้อจัดจ้าง และการจัดหาพัสดุปีงบประมาณ พ.ศ. 2564
          >>1. ประกาศเผยแพร่แผนการจัดซื้อจัดจ้างและการจัดหาพัสดุประจำปีของหน่วยงาน ภายใน 30 วันทำการ ระบุวันที่ที่ได้รับการจัดสรรงบประมาณในช่องคำอธิบายชี้แจงประกอบหลักฐาน วันที่ที่ได้ทำการประกาศเผยแพร่ให้ชัดเจน
               1.1 บันทึกข้อความรายงานผู้บริหารรับทราบและสั่งการ ปรากฏการขออนุญาตนำเผยแพร่บนเว็บไซต์ของหน่วยงาน
               1.2 หนังสือจัดสรรงบประมาณ
               1.3 แผนการจัดซื้อจัดจ้างและการจัดหาพัสดุของหน่วยงาน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564
               1.4 คำสั่งมอบหมายการปิดประกาศ หรือปลดประกาศ

          >>2. รายงานผลของแผนการจัดซื้อจัดจ้างและการจัดหาพัสดุประจำปีของหน่วยงานตามรอบระยะเวลาที่กำหนด (งบลงทุน ทุกไตรมาส และงบดำเนินงาน ทุก 6 เดือน)
               2.1 หนังสือรายงานผู้บริหารรับทราบและสั่งการ ปรากฏการขออนุญาตนำเผยแพร่บนเว็บไซต์ของหน่วยงาน
               2.2 รายงานผลการดำเนินการตามแผนการจัดซื้อจัดจ้างและการจัดหาพัสดุ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564
    
          >>3. การป้องกันผู้ที่มีหน้าที่ดำเนินการในการจัดซื้อจัดจ้างเป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกับผู้ยื่นข้อเสนอหรือคู่สัญญา
               3.1 หนังสือแจ้งเวียนหลักฐานเกี่ยวกับแนวทางการตรวจสอบถึงความเกี่ยวข้องระหว่างเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับการจัดซื้อจัดจ้าง และผู้เสนองาน เพื่อป้องกันผลประโยชน์ทับซ้อนเป็นคำสั่ง / ระเบียบ /ประกาศ ฯลฯ และการควบคุม กำกับ สอบทาน (ประกาศสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขว่าด้วยแนวทาง ปฏิบัติงานเพื่อตรวจสอบบุคลากรในหน่วยงานด้านการจัดซื้อจัดจ้าง พ.ศ. 2560 ลงวันที่ 12 ตุลาคม 2560 และแบบแสดงความบริสุทธิ์ใจในการจัดซื้อจัดจ้างของหน่วยงานในการเปิดเผยข้อมูลความขัดแย้งทางผลประโยชน์ ของหัวหน้าเจ้าหน้าที่ เจ้าหน้าที่ และผู้ตรวจรับพัสดุจำนวน 2 แบบ คือ วงเงินเล็กน้อยไม่เกิน 100,000 บาท และวงเงินเกิน 100,000 บาท)
               3.2 หนังสือขออนุญาตนำเผยแพร่บนเว็บไซต์ของหน่วยงาน
               3.3 แสดงหลักฐานชุดใบสำคัญการเบิกจ่าย ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ที่มีการนำประกาศสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขว่าด้วยแนวทางปฏิบัติงานเพื่อตรวจสอบบุคลากรในหน่วยงานด้านการจัดซื้อ จัดจ้าง พ.ศ. 2560 ลงวันที่ 12 ตุลาคม 2560 และแบบแสดงความบริสุทธิ์ใจในการจัดซื้อจัดจ้างของหน่วยงาน ในการเปิดเผยข้อมูลความขัดแย้งทางผลประโยชน์ของหัวหน้าเจ้าหน้าที่ เจ้าหน้าที่ และผู้ตรวจรับพัสดุ แนบกับชุดใบสำคัญการเบิกจ่าย โดยแสดงในทุกไตรมาส ๆ ละ2 ชุด (ที่ไม่ซ้ำกัน)
ไตรมาสที่ 1 ชุดใบสำคัญการเบิกจ่าย เดือนตุลาคม 2563 – ธันวาคม 2563
ไตรมาสที่ 2 ชุดใบสำคัญการเบิกจ่าย เดือนมกราคม 2564 – มีนาคม 2564
ไตรมาสที่ 3 ชุดใบสำคัญการเบิกจ่าย เดือนเมษายน 2564 – มิถุนายน 2564
ไตรมาสที่ 4 ชุดใบสำคัญการเบิกจ่าย เดือนกรกฎาคม 2564 – กันยายน 2564

      EB 5 หน่วยงานมีการสรุปผลการดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างในรอบเดือน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564
          >>1. บันทึกข้อความรายงานผู้บริหารรับทราบและสั่งการ ปรากฏการขออนุญาตนำเผยแพร่ บนเว็บไซต์ของหน่วยงาน
          >>2. แบบสรุปผลการจัดหาพัสดุในแต่ละรอบเดือน (แบบ สขร. 1) ในทุก ๆ ไตรมาส
               ไตรมาส 1
               ไตรมาส 2
               ไตรมาส 3
               ไตรมาส 4

ตัวชี้วัดที่ 3 การบริหาร และพัฒนาทรัพยากรบุคคล
      EB 6 ผู้บริหารแสดงนโยบายการบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคล
      EB 7 หน่วยงานมีการกำหนดมาตรการ และระบบการบริหารผลการปฏิบัติงานและการดำเนินการ กับเจ้าหน้าที่ผู้มีผลสัมฤทธิ์การปฏิบัติงานต่ำ
      EB 8 หน่วยงานมีการรายงานการประเมินและเกี่ยวกับการประเมินผลการปฏิบัติราชการประจำปี ของบุคลากรในหน่วยงาน และเปิดเผยผลการปฏิบัติราชการ ระดับดีเด่น และระดับดีมาก ในที่เปิดเผยให้ทราบ รอบปีงบประมาณที่ผ่านมา และรอบปีงบประมาณ
      EB 9 หน่วยงานมีการอบรมให้ความรู้แก่เจ้าหน้าที่ภายในหน่วยงานเกี่ยวกับการเสริมสร้างและพัฒนา ทางด้านจริยธรรมและการรักษาวินัยรวมทั้งการป้องกันมิให้กระทำผิดวินัย

ตัวชี้วัดที่ 4 การส่งเสริมความโปร่งใส
      EB 10 หน่วยงานมีแนวปฏิบัติการจัดการเรื่องร้องเรียน และช่องทางการร้องเรียน
      EB 11 หน่วยงานมีข้อมูลเชิงสถิติเรื่องร้องเรียน
      EB 12 หน่วยงานของท่านเปิดโอกาสให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียมีโอกาสเข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินงาน ตามภารกิจของหน่วยงาน

ตัวชี้วัดที่ 5 การรับสินบน
      EB 13 หน่วยงานมีการกำหนดมาตรการและระบบในการป้องกันการรับสินบน

ตัวชี้วัดที่ 6 การใช้ทรัพย์สินของราชการ
      EB 14 หน่วยงานมีการจัดทำแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการใช้ทรัพย์สินของราชการที่ถูกต้อง
      EB 15 หน่วยงานมีขั้นตอนการขออนุญาตเพื่อยืมทรัพย์สินของราชการไปใช้ปฏิบัติในหน่วยงาน

ตัวชี้วัดที่ 7 การดำเนินงานเพื่อการป้องกันการทุจริต
      EB 16 หน่วยงานมีการเผยแพร่เจตจำนงสุจริตของผู้บริหารต่อสาธารณชน
      EB 17 หน่วยงานมีแผนปฏิบัติการป้องกัน ปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ และแผนปฏิบัติการส่งเสริมคุณธรรมของชมรมจริยธรรม ประจำปีของหน่วยงาน
      EB 18 หน่วยงานมีรายงานการกำกับติดตามการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการป้องกัน ปราบปราม การทุจริตและประพฤติมิชอบ ประจำปีของหน่วยงาน และแผนปฏิบัติการส่งเสริมคุณธรรมของชมรม จริยธรรม ประจำปีของหน่วยงาน

ตัวชี้วัดที่ 8 การป้องกันผลประโยชน์ทับซ้อน
      EB 19 หน่วยงานมีการวิเคราะห์ความเสี่ยงเกี่ยวกับผลประโยชน์ทับซ้อนของหน่วยงาน
      EB 20 หน่วยงานมีการจัดการความเสี่ยงเกี่ยวกับผลประโยชน์ทับซ้อน โดยการกำหนดมาตรการ และวางระบบเพื่อจัดการความเสี่ยงเกี่ยวกับผลประโยชน์ทับซ้อนของหน่วยงาน
      EB 21 หน่วยงานมีการอบรมให้ความรู้ภายในหน่วยงาน เรื่องการป้องกันผลประโยชน์ทับซ้อน

ตัวชี้วัดที่ 9 การเสริมสร้างวัฒนธรรมองค์กร
      EB 22 หน่วยงานมีการเสริมสร้างวัฒนธรรมสุจริตและต่อต้านการทุจริตภายใต้แนวคิด “จิตพอเพียงต้านทุจริต”
      EB 23 หน่วยงาน มีการรวมกลุ่มของบุคลากรในหน่วยงานในนาม “ชมรม STRONG …”
      EB 24 หน่วยงานมีนโยบายและมีแนวปฏิบัติที่เคารพสิทธิมนุษยชนและศักดิ์ศรีของผู้ปฏิบัติงาน มาตรการในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการล่วงละเมิดหรือคุกคามทางเพศในการทำงาน


 

องคมนตรี ลงพื้นที่ติดตามการพัฒนาโรงพยาบาลพระทองคำเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา

                    องคมนตรี ลงพื้นที่ติดตามการพัฒนาโรงพยาบาลพระทองคำเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา จังหวัดนครราชสีมา เพิ่มการเข้าถึงบริการดูแลประชาชน ผ่าตัดตาต้อกระจก โรคผิวหนัง คัดกรองมะเร็งลำไส้ การดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคองและผู้ป่วยระยะสุดท้าย ผ่านการรับรองคุณภาพมาตรฐาน HA มาตรฐานงานเทคนิคการแพทย์ (LA)
วันนี้ (2 ตุลาคม 2563) ที่โรงพยาบาลพระทองคำเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา อำเภอพระทองคำ จังหวัดนครราชสีมา ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์เกษม วัฒนชัย องคมนตรีในฐานะรองประธานกรรมการมูลนิธิเทพรัตนเวชชานุกูล พร้อมด้วยนายแพทย์พงศ์เกษม ไข่มุกด์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข เขตสุขภาพที่ 9 นายแพทย์รุ่งเรือง กิจผาติ ที่ปรึกษาระดับกระทรวง และคณะ ติดตามการดำเนินงานและให้กำลังใจเจ้าหน้าที่
นายแพทย์พงศ์เกษม ไข่มุกด์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข เขตสุขภาพที่ 9 กล่าวว่า โรงพยาบาลพระทองคำเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา เป็นโรงพยาบาลชุมชนขนาด 30 เตียง ผ่านการรับรองคุณภาพโรงพยาบาลมาตรฐาน HA มาตรฐานงานเทคนิคการแพทย์ (LA) ส่งผลดีในการตรวจวินิจฉัยโรคได้ถูกต้องแม่นยำ ดำเนินงานตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ปลูกผักสวนครัวสำหรับผู้ป่วยและชุมชน เป็นแหล่งสาธิตการปลูกพืชผักสวนครัวและสมุนไพร จัดตลาดนัดสีเขียว กิจกรรมจิตอาสา กิจกรรมบำบัดยาเสพติด รวมทั้งส่งเสริมการใช้ยาอย่างสมเหตุผล นำยาสูดพ่นหลอดเก่ามาแลกรับยาใหม่ เป็นโรงพยาบาลสีเขียว ประหยัดพลังงาน อาทิ ติดตั้งระบบโซล่าเซลล์ จัดทำระบบกระจายน้ำพลังงานแสงอาทิตย์ ลดค่าใช้จ่ายด้านสาธารณูปโภค ร้อยละ 15.17 ดำเนินงานร่วมกับชุมชนในการส่งเสริมสุขภาพป้องกันโรค และช่วยเหลือผู้ยากไร้ ตามโครงการ “โอบ ไออุ่น ทำความดีตามรอยพ่อของแผ่นดิน” เพิ่มคุณภาพชีวิต
                      นอกจากนี้ ทำให้ประชาชนเข้าถึงบริการมากขึ้น โดยร่วมกับกรมการแพทย์ จัดทำโครงการคลินิกตาต้อกระจก ในปี 2563 มีผู้รับบริการ 149 ราย ให้บริการตรวจรักษาทางไกลกับแพทย์เฉพาะทางจากสถาบันโรคผิวหนัง มีผู้รับบริการ 139 ราย คัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่ 44 ราย พัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคอง (Palliative Care) และเป็นศูนย์บริการให้ยืมอุปกรณ์ทางการแพทย์ไปใช้ที่บ้าน อาทิ ที่นอนลม รถเข็นออกซิเจน บริการพาหมอไปหาผู้ป่วยให้การดูแลผู้ป่วยติดบ้านติดเตียง/ ผู้ป่วยระยะสุดท้ายในชุมชน พร้อมจัดตั้งกองทุนช่วยเหลือ บริการหมอฟันเดินดินตรวจสุขภาพช่องปากของผู้ป่วยที่บ้าน บริการแพทย์แผนไทยบริการฝังเข็มและครอบแก้วโดยแพทย์เวชศาสตร์
                     นายแพทย์พงศ์เกษมกล่าวต่อว่า โรงพยาบาลพระทองคำเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา ได้รับการสนับสนุนงบประมาณการก่อสร้างอาคารจากมูลนิธิเทพรัตนเวชชานุกูล ปี 2562 จำนวน 3 รายการ รวมวงเงินงบประมาณ 2,129,000 บาท ได้แก่ 1.อาคารระบบกรองน้ำประปา กรองน้ำประปาได้ 2397.60 ลบ.ม. คิดเป็นปริมาณการกรองน้ำเข้าระบบร้อยละ 33 อยู่ระหว่างผันน้ำเข้าระบบจากระบบเชื่อมต่อเดิมน้ำผิวดินเป็นน้ำบาดาลแทน 2.อาคารอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์ อบสมุนไพรได้ 668.52 ก.ก. ลดการสั่งซื้อยาสมุนไพรได้ร้อยละ 15 และ 3.อาคารอบไอน้ำสมุนไพรและอุปกรณ์ ให้บริการอบสมุนไพรจำนวน 116 คน ส่วนปีงบประมาณ 2563 ได้รับการสนับสนุนรายการก่อสร้าง 2 รายการ ได้แก่ 1.ระบบก๊าซทางการแพทย์ 32 จุด เพื่อให้บริการผู้ป่วยที่มีภาวะเหนื่อยหอบ และภาวะพร่องออกซิเจนภายในอาคารผู้ป่วยในพิเศษ และอาคารอุบัติเหตุฉุกเฉิน กำหนดแล้วเสร็จวันที่ 2 ธันวาคม 2563 และ 2.ปรับปรุงทางเดินเชื่อมอาคารระหว่างอาคารผู้ป่วยนอก ผู้ป่วยอุบัติเหตุฉุกเฉิน และอาคารผู้ป่วยในพิเศษ กำหนดแล้วเสร็จวันที่ 1 มกราคม 2564 และในส่วนการลงทุน และการพัฒนาทั่วไป ตลอดจนเรื่องบุคลากร ทางกระทรวงสาธารณสุขได้ให้การสนับสนุนอย่างต่อเนื่อง